เมนู

ก็เพราะเหตุที่นางขุชชุตตรานั้นได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ในนครนั้นแล แล้วกล่าวแก่สตรีเหล่านั้น ในวันนั้นด้วย
ฉะนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะอ้างเวลาและสถานที่ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี เพราะเวลาและสถานที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว.
ฝ่ายภิกษุณีทั้งหลายก็ได้เรียนเอาสูตรเหล่านี้ในสำนักนางขุชชุตตรานั้น. แม้ใน
หมู่ภิกษุ นิทาน(คำเริ่มต้น) ที่นางขุชชุตตรานั้นยกขึ้นไว้ก็ปรากฏโดยสืบทอด
กันมาอย่างนี้. ต่อมาท่านพระอานนท์ นั่งสั่งคายนาพระธรรมอยู่ในท่ามกลาง
คณะพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญมี พระมหากัสสปะเป็นประมุข ในสัทธรรมมณฑป
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงให้สร้างขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภายหลังจากเวลา
ที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน เมื่อจะหลีกเลี่ยง (ไม่ต้องการให้) นิทานของ
สูตรเหล่านี้มี 2 นิทาน จึงยกนิทานขึ้นตามนิยามที่นางขุชชุตตรานั้นยกไว้
แล้วแล. แต่อาจารย์บางพวกขยายประการในที่นี้ให้มากออกไป. ประโยชน์
อะไรด้วยประการเหล่านั้น.

อิติวุตตกะมี 112 สูตร


อีกอย่างหนึ่ง พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมวินัยไว้
โดยนัยต่าง ๆ. จริงอยู่ พระมหาเถระผู้สังคายนาพระธรรมเป็นพระอนุพุทธะ
(ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า). พระมหาเถระเหล่านั้นรู้อาการสังคายนาพระธรรม
วินัย โดยชอบแท้ทีเดียวในทีบางแห่งจึงตั้งนิทาน(คำเริ่มต้น) ไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า เอวมฺเม สุตํ ในที่บางแห่งตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เตน สมเยน
ในที่บางแห่งตั้งนิทาน โดยเป็นคาถาพันธ์ (แต่) ในที่บางแห่งไม่ตั้งนิทาน
ไว้ทั้งหมด สังคายนาพระธรรมวินัย โดยแยกเป็นวรรคสังคหะเป็นต้น. บรรดา
อาคตสถานเหล่านั้น ในที่นี้ พระสังคีติกาจารย์ตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า

วุตฺตํ เหตํ แล้วสังคายนา (พระธรรมวินัย). พุทธวจนะนี้มีองค์ 9 โดยแยก
เป็น สุตตะ เคยยะ เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็เป็นเหมือน
พุทธวจนะมีองค์ 9 นั่น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ก็พุทธวจนะมีองค์
9 คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีน้อย เป็นต้น. ในบรรดา
องค์เหล่านั้น องค์ คือ อิติวุตตกะไม่ปรากฏนิทานอะไร ๆ อย่างอื่นเลย
ยกเว้นคำนี้ว่า วุตฺตํ เหตํ ฯเปฯ เม สุตํ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของอิติวุตตกะ
นั้น . ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า สูตร 112 สูตร
ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา จัดเป็นอิติวุตตกะ เพราะ
เหตุนั้น พึงทราบว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย หรือแม้พระอริยสาวิกา
ผู้รู้พระประสงค์ของพระศาสดา จึงได้ตั้งนิทานไว้โดยนัยนี้แล เพื่อให้ทราบว่า
สูตรเหล่านี้จักเป็นองค์ คือ อิติวุตตกะ.

กล่าวคำนิทานไว้ทำไม ?


ถามว่า ก็พระอานนท์เมื่อจะทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ได้กล่าว
คำนิทานไว้เพื่ออะไร ? ท่านควรทำการรวบรวมพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัส
ไว้มิใช่หรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลย พระอานนท์กล่าวคำนิทานไว้
เพื่อยังความดำรงมั่น ความไม่เลอะเลือน และความเป็นของควรเธอแห่งเทศนา
ให้ถึงพร้อม. เป็นความจริง เทศนาที่ผูกพันอยู่กับข้ออ้าง คือ กาละ (เวลา)
เทสะ (สถานที่) ผู้แสดง และบริษัท ย่อมเป็นเทศนาดำรงอยู่ได้มั่นคง
ไม่เลอะเลือน และเป็นเทศนาควรเธอ. การวินิจฉัยโวหารเป็นเหมือนผูกพัน
อยู่กับเครื่องหมาย คือ เทสะ กาละ กัตตา (ผู้ทำ) และโสตา (ผู้ฟัง)
ก็ท่านพระอานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรมนั้นแล เมื่อพระมหากัสสปะ
ทำการปุจฉาถึงเทสะ (สถานที่ตรัส) เป็นอาทิแห่งพรหมชาลสูตรละมูลปริยาย-